หน่วยที่ 2

หน่วยที่ 2 หลักการ แนวคิด ทฤฎีเกี่ยวนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ




หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา

1.           ปรัชญาและจุดมุ่งหมายของการศึกษา
1.1        ปรัชญาการศึกษากับเทคโนโลยีการศึกษา
ปรัชญาการศึกษา  คือ การแสวงหาความจริงว่า การศึกษาที่แท้ คืออะไร เรามีวิธีการเข้าถึงการศึกษาที่แท้ได้อย่างไร และการศึกษาที่แท้จริงนั้นทำให้เกิดคุณค่าอะไรบ้าง   ปัญหาอยู่ที่ว่า เราเชื่อว่าอะไร คือ การศึกษาที่จริงแท้ของมนุษย์ เช่น ถ้าเราเชื่อว่า ผู้เรียนไม่มีความสามารถมาก่อน การศึกษา คือ การทำให้ผู้เรียนมีความสามารถตามที่ผู้สอนต้องการ ก็ต้องให้การอบรมเลี้ยงดู สั่งสอน (Lat. educare = to bring up) ครูเป็นผู้กำหนดให้ผู้เรียนปฏิบัติ เราเรียกว่า ครูเป็นศูนย์กลาง (เช่น ปรัชญาจิตนิยม ประจักษ์นิยม)
ความหมายของปรัชญาการศึกษา มีผู้ให้ความหมายของปรัชญาการศึกษาหลายท่าน ดังนี้
วิจิตร ศรีสอ้าน (2524: 109) กล่าวว่า ปรัชญาการศึกษา คือ จุดมุ่งหมาย ระบบความเชื่อหรือแนวความคิดที่แสดงออกมาในรูปของอุดมการณ์หรืออุดมคติทำนองเดียวกันกับที่ใช้ในความหมายของปรัชญาชีวิตซึ่งหมายถึง อุดมการณ์ของชีวิต อุดมคติของชีวิต แนวทางดำเนินชีวิต กล่าวโดยสรุป ปรัชญาการศึกษาคือ จุดมุ่งหมายของการศึกษา
ทองปลิว ชมชื่น (2529:120) ปรัชญาการศึกษา คือ เทคนิคการคิดที่จะแสวงหาคำตอบและกำหนดแนวทางในการดำเนินงานทางการศึกษาไม่ว่าการศึกษาในระบบโรงเรียนหรือการศึกษานอกโรงเรียน เริ่มตั้งแต่การกำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษา ยุทธศาสตร์ทางการศึกษาและการบริหารทางการศึกษา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนามนุษย์และสังคมอย่างแท้จริง
1.2        จุดมุ่งหมายของการศึกษา
การศึกษาต้องมุ่งพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ พัฒนาศักยภาพของผู้เรียน มุ่งสร้างปัญญา และคุณธรรมของชีวิตเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตเพื่อตนเอง พึ่งพาตนเองได้
สรุป  ปรัชญาการศึกษา คือ จุดมุ่งหมายของการศึกษา
2.              จิตวิทยาการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในด้านการศึกษา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น อาจสรุปได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1.             กลุ่มที่มีความเชื่อในเรื่องพฤติกรรม หรือกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorists)
2.             กลุ่มที่มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทำงานของจิตและสติปัญญา หรือกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivists)
3.             กลุ่มทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivists)
2.1        ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม พฤติกรรมนิยม
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism) นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง  คือ  ไม่ดี – ไม่เลว  การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก  พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response)  การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ   ”พฤติกรรม”  มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด  สามารถวัดและทดสอบได้
2.2        ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม  พุทธิปัญญา
ตามทฤษฎีนี้เชื่อว่า ความจริง (Truth) หรือความรู้มีอยู่จริงในโลกหรือในจักรวาล ถ้าเราพบสิ่งใดสิ่งหนึ่งเราก็จะพบไปเรื่อยๆ  ทฤษฎีนี้จึงถือว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการของจิตที่ต้องมีการรับรู้จากการกระทำ มีการแปลความ ตีความ การให้เหตุผลจนเกิดรู้สำนึก และสะสมเป็นความรู้ในที่สุด
ทฤษฎี Constructivism มีหลักการที่สำคัญว่า ในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำ (active) และสร้างความรู้ ซึ่งจิตวิทยา Constructivists มีความเห็นในเรื่องการเรียนรู้หรือการสร้างความรู้แบ่งออกเป็น  2  ทฤษฎี คือ




2.3        ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม คอนสตรัคติวิสต์
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory) หรือ คอนสตรัคติวิซึม (Constructivism) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการกระทำของตนเอง (Theory of Active Knowing) ซึ่งมีแนวคิดหลักว่า บุคคลเรียนรู้โดยอาศัยปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการต่าง ๆ กัน โดยอาศัยประสบการณ์เดิม โครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่ และแรงจูงใจภายในเป็นพื้นฐานมากกว่า โดยอาศัยแต่เพียงรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมหรือรับการสอนจากภายนอกเท่านั้น และความขัดแย้งทางสติปัญญา (Cognitive Conflict) ที่เกิดจากการที่บุคคลเผชิญกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหาซึ่งไม่สามารถแก้หรืออธิบายได้ด้วยโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่ หรือจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการไตร่ตรอง (Reflection) ซึ่งนำไปสู่โครงสร้างใหม่ทางปัญญา (Cognitive Restrucring) ที่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ปัญหา ที่เป็นปัญหาหรือขจัดความขัดแย้งทางปัญญาได้

คุณลักษณะร่วมของทฤษฎี Constructivism
1.             ผู้เรียนสร้างความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
2.             การเรียนรู้สิ่งใหม่ขึ้นกับความรู้เดิมและความเข้าใจที่มีอยู่ในปัจจุบัน
3.             การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีความสำคัญต่อการเรียนรู้
4.             การจัดสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่คล้ายคลึงกับชีวิตจริง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มีดังนี้
1)            ผลการเรียนรู้มิได้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับความรู้เดิมของผู้เรียน
2)            การเรียนรู้ คือการสร้างความหมาย ความหมายที่สร้างขึ้นจากผู้เรียนจากสิ่งที่ผู้เรียนเห็นหรือได้ยินอาจจะเป็นหรือไม่เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของผู้สอน ความหมายที่ผู้เรียน สร้างขึ้นได้รับผลกระทบอย่างมากจากความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่
3)            การสร้างความหมายเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง และผู้เรียนเป็นผู้กระทำกระบวนการนี้เอง (Active) ในสถานการณ์การเรียนรู้ ผู้เรียนจะตั้งสมมติฐาน ตรวจสอบ และ อาจเปลี่ยนแปลงสมมติฐานขณะที่มีปฏิสัมพันธ์กับปรากฏการณ์กับผู้อื่น
4)            ความหมายที่ผู้เรียนสร้างขึ้นจะได้รับการตรวจสอบ และอาจจะได้รับการยอมรับหรือถูกปฏิเสธ
5)            ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบการเรียนรู้เอง ในการสร้างความตั้งใจในการทำงาน การดึงความรู้ที่มีอยู่มาสร้างความหมายให้แก่ตนเองและการตรวจสอบความหมายที่สร้างขึ้นนั้น
6)            มีแบบแผน (Patterns) ของความหมายที่ผู้เรียนสร้างขึ้นจากประสบการณ์โลกเชิงกายภาพและภาษาธรรมชาติที่มีความหมายเดียวกันในเชิงนามธรรม

3.              ทฤษฎีการสื่อสารและการสื่อความหมาย
การสื่อสาร(communication) คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือ พฤติกรรมที่เข้าใจ โดยมีองค์ประกอบดังนี้

ผู้ส่ง ---> ข้อมูลข่าวสาร ---> สื่อ ---> ผู้รับ

ผู้ส่งสาร คือ  ผู้ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล สารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่าสื่อ ถ้าหากเป็นการสื่อสารทางเดียวผู้ส่งจะทำหน้าที่ส่งเพียงประการเดียวแต่ถ้าเป็นการสื่อสาร 2 ทาง ผู้ส่งสารจะเป็นผู้รับในบางครั้งด้วย ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติต่อตนเอง ต่อเรื่องที่จะส่ง ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่งและอยู่ในระบบสังคมเดียวกับผู้รับก็จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
ข่าวสาร  ในการะบวนการติดต่อสื่อสารก็มีความสำคัญ ข่าวสารที่ดีต้องแปลเป็นรหัส เพื่อสะดวกในการส่งการรับและตีความ เนื้อหาสารของสารและการจัดสารก็จะต้องทำให้การสื่อความหมายง่ายขึ้น

สื่อหรือช่องทางในการรับสาร  คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส และตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเลกทรอนิกส์
ผู้รับสาร  คือ ผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ ผู้รับสารจะต้องมีประสิทธิภาพในการรับรู้ มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร ต่อผู้ส่งสารและต่อตนเอง
3.1        ทฤษฎีการสื่อสาร
ทฤษฎีการสื่อสาร  คือ  การอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบ วิธีการ  บทบาทหน้าที่  ผล  อิทธิพล  การใช้  การควบคุม  แนวคิดของศาสตร์ต่าง ๆ แนวโน้มอนาคต  และปรากฏการณ์เกี่ยวกับการสื่อสาร  แต่การอธิบายต้องมีการอ้างอิงอย่างมีเหตุผลที่ได้จากหลักฐาน  เอกสาร  หรือปากคำของมนุษย์
3.2        ลักษณะและหลักการสื่อสาร    แบ่งออกได้ 3 วิธี คือ
1.1      การสื่อสารด้วยวาจา หรือ "วจนภาษา" (Oral Communication) เช่น การพูด การร้องเพลง เป็นต้น
1.2      การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ "อวจนภาษา" (Nonverbal Communication) และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน (Written Communication) เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง ภาษามือและตัวหนังสือ เป็นต้น
1.3      การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัสหรือการเห็น (Visual Communication) เช่น การสื่อสารด้วยภาพ โปสเตอร์ สไลด์ เป็นต้นหรือโดยการใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น ลูกศรชี้ทางเดิน เป็นต้น
3.3        ประเภทของการสื่อสาร    แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1.             การสื่อสารในตนเอง (Intrapersonal or Self-Communication) เป็นการสื่อสารภายในตัวเอง หมายถึง บุคคลผู้นั้นเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน เช่น การเขียนและอ่านหนังสือ เป็นต้น
2.             การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างคน 2 คน เช่น การสนทนา หรือการโต้ตอบจดหมายระหว่างกัน เป็นต้น
3.             การสื่อสารแบบกลุ่มชน (Group Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มชนซึ่งประกอบด้วยคนจำนวนมาก เช่น การสอนในห้องเรียนระหว่างครูเพียงคนเดียวกับนักเรียนทั้งห้อง หรือระหว่างกลุ่มชนกับบุคคล เช่น กลุ่มชนมาร่วมกันฟังคำปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น
4.             การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการสื่อสารโดยการอาศัยสื่อมวลชนประเภทวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น นิตรสาร หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ แผ่นโปสเตอร์ ฯลฯ เพื่อการติดต่อไปยังผู้รับสารจำนวนมากซึ่งเป็นมวลชนให้ได้รับข้อมูลข่าวสารเดียวกันในเวลาพร้อม ๆ หรือไล่เรี่ยกัน
3.4        กระบวนการสื่อสาร
กระบวนการสื่อสาร    (Comunication Process)  หมายถึง การส่งสารจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบการสื่อสารขั้นต้น วิธีที่ใช้มากที่สุด คือ การพูด การฟัง และการใช้กิริยาท่าทาง
3.5        องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่ง ผู้สื่อสาร หรือต้นแหล่งของการส่ง (Sender, Communicatior or Source) เป็นแหล่งหรือผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว แนวความคิด ความรู้ ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มชนก็ได้ ผู้ส่งนี้จะเป็นบุคคลเพียงคนเดียว กลุ่มบุคคลหรือสถาบัน โดยอยู่ในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายอย่าง
2. เนื้อหาเรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร บทเพลง ข้อเขียน ภาพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านี้
3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Media or Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวความคิด เหตุการณ์ เรื่อราวต่าง ๆ ที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ
4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย (Receiver or Target Audience) ได้แก่ ผู้รับเนื้อหาเรื่องราวจากแหล่งหรือที่ผู้ส่งส่งมา ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบันก็ได้
5. ผล (Effect) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ ผลที่เกิดขึ้นคือ การที่ผู้รับอาจมีความเข้าใจหรือไม่รู้เรื่อง ยอมรับหรือปฏิเสธ พอใจหรือโกรธ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นผลของการสื่อสาร และจะเป็นผลสืบเนื่องต่อไปว่าการสื่อสารนั้นจะสามารถบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้รับ สื่อที่ใช้ และสถานการณ์ในการสื่อสารเป็นสำคัญด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น