หน่วยที่ 3

หน่วยที่ 3 การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา…
เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มพูนศักยะภายและสมรรถนะการทำงานในทุกวงการเมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ในในการศึกษาจะเรียกว่า”เทคโนโลยีการศึกษา”โดยเทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการศึกษาทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนด้วยลักษณะต่างๆของการสื่อสารผู้สอนสามารถนำการสื่อสารมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อบรรลุถึงจุดประสงค์การเรียนรู้ได้หลากหลายวิธีการ
ทำให้สรุปได้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาเป็นการนำเทคโนโลยีและการสื่อสารมาใช่เพื่อเอื้อประโยชน์ในการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิผล
หรือในทางกลับกันอาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีและการสื่อสารเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยการศึกษาเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
ระยะทางของการสื่อสารในการเรียนการสอน...
ลักษณะการสื่อสารที่มีรูปแบบ
วิธีการ ประเภท และระยะทางของการสื่อสารแตกต่างกัน ทำให้การเรียนการสอนและการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบปกติและการศึกษาทางไกลต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย
เพื่อสามารถเลือกใช้สื่อและวิธีการให้เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนการสอน
การสื่อสารในห้องเรียน
ลักษณะการสื่อสารในห้องเรียนส่วนมากแล้วจะเป็นการสื่อสารระยะใกล้แบบการสื่อสารสองทางโดยผู้สอนใช้เนื้อหาการสอนประกอบทั้งวัสดุ
อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆ เช่น ใช้ภาพนำเข้าสู่บทเรียน การใช้วีซีดี เป็นต้น ปัจจุบันการเรียนการสอนในห้องเรียนมีเพิ่มขึ้นอีก 2 รูปแบบ นอกเหนือจากการสื่อสารสองทางและการสื่อสารระยะใกล้ที่ใช้กันมาแต่เดิม
ได้แก่
- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารทางเดียว
ตัวอย่าง เช่น การรับรายการโทรทัศน์การศึกษาจากโรงเรียนวังไกลกังวลทางโทรทัศน์ช่อง UBC
ด้วยจานรับสัญญาณผ่านดาวเทียมแบบรับตรง วิธีการเหล่านี้ล้วนเพิ่มพูลสมรรถนะในการเรียนการสอนและการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง


- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารสองทาง
เช่นการเรียนในห้องเรียนเสมือนที่ผู้เรียนในห้องเรียนหนึ่งสามารถเรียนร่วมกับผู้เรียนในสถาบันการศึกษาแห่งอื่นที่มีผู้สอนสดและส่งการสอนนั้นมาเพื่อเรียนร่วมกันได้
การสื่อสารในการศึกษาทางไกล
การศึกษาทาง”กลเป็นการเรียนการสอนและผู้เรียนถึงแม้จะไม่อยู่ในที่เดียวกันแต่สามารถสื่อสารกันได้ด้วยระบบโทรคมนาคมซึ่งเป็นการสื่อสารระยะไกล
การเรียนการสอนรูปแบบนี้ผู้เรียนจะเรียนอยู่ที่บ้านหรือสถานที่ต่างๆ ตาความสะดวกของแต่ละคน
และสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อสิ่งพิมพ์ละสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ เช่น หนังสือ
เอกสารประกอบการเรียน เทปเสียง แผ่นวีซีดี รายการวิทยุ โทรทัศน์การสอน เป็นต้น
- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารทางเดียว
เป็นแบบประสารเวลาด้วยการสอนบนเว็บโดยผู้เรียนเข้าไปเรียนในเว็บไซต์ของวิชา
ส่งการบ้านหรือถามคำถามทางอีเมลไปยังผู้สอนสอน หรือติดคำถามบนเว็บบอร์ดเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญตอบ
- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารสองทาง
เป็นแบบประสารเวลาด้วยการสอนบนเว็บโดยผู้เรียนล็อกออนเข้าเข้าเรียนในเวลาที่ผู้สอนกำหนด
ทำให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ทันที หรืออาจเป็นการเรียนแต่มีการนัดหมายเวลาเพื่อสนทนาสดด้วยเสียงแบบเห็นหน้ากันหรือพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาได้

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ...
ในการสื่อสารย่อมต้องใช้เครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างการส่งและการรับ
เช่นเครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายวิทยุ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทวีความสำคัญยิ่งขึ้นในการเรียนการสอนปัจจุบัน
ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์พื้นฐานและช่องทางการสื่อสารได้แก่
- อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต้นทางเพื่อเป็นอุปกรณ์เครื่องส่งในการส่งข้อมูล
คำสัง และสารสนเทศ
- อุปกรณ์สื่อสารเพื่อแปลงข้อมูล
- ช่องทางสื่อสารเพื่อการส่งผ่านสัญญาณ
- อุปกรณ์สื่อสารเพื่อรับสัญญาณจากช่องทางการสื่อสารและแปลงกลัยให้เป็นรูปแบบ
- คอมพิงเตอร์ปลายทางเพื่อเป็นอุปกรณ์เครื่องรับข้อมูล
คำสั่ง และสารสนเทศ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเป็นการเชื่อมต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปโดยมีทั้งแบบใช้ตัวกลางสื่อสัญญาณทางกายภาพโดยใช้สายโทรศัพท์
โมเด็ม หรืออุปกรณ์อื่นๆ เมื่อคอมพิวเตอร์มีการเชื่อมต่อกันบนเครือข่ายจะเรียกว่าเป็นการใช่แบบออนไลน์
(online) เพื่อสามารถสื่อสารกันได้แบบทันที เครือข่ายจะแบ่งกันได้ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่แบ่งออกได้ดังนี้
เครือข่ายขนาดกว้าง
เป็นเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางโดยอาจเป็นทั้งรัฐหรือทั้งประเทศ
เครือข่ายนครหลวง
เป็นเครือข่ายสื่อสารครอบคลุมพื้นที่ในเขตเมืองและเขตชานเมือง
เครือข่ายเฉพาะที่
เป็นเครือข่ายขนาดเล็กใช่เฉพาะพื้นที่ที่กำหนดไว้โดยอาจเป็นเพียงสำนักงานชั้นเดียว
อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เชื่อมโยงเครือข่ายทั่วโลกเข้าด้วยกัน
อินทราเน็ต เป็นเครือข่ายภายในที่ใช้โครงสร้างพื้นฐานและมาตระฐานของอินเตอร์เน็ตและเวิลด์ไวเว็บ
เพื่อใช้งานเฉาพะภาในองค์กรแต่ละแห่ง
เอกซ์ทราเน็ต เป็นเครือข่ายที่ใช้เทคโนโลยีของอินทราเน็ต
ต่าเพิ่มการรักษาความปลอดภัยและควบคุมการเข้าถึง
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่เครือข่ายควรมีเพื่อปกป้องข้อมูล
คือ ไฟร์วอลล์ (firewalls) ซึ่งเป็นการรักษาความปลอดภัยข้อมูลในเครือข่าย


อุปกรณ์สื่อสารในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- โมเด็ม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงสัญญาณอนาล็อก
เป็นการแปลงสัญญาณอนาล็อกให้เป็นดิจิทัล อุปกรณ์ต้นทางและอุปกรณ์ปลายทาง
- เคเบิลโมเด็ม เป็นโมเด็มใช้รับส่งข้อมูล
เป็นเครือข่ายโทรทัศน์ โดยมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล ตั้งแต่ 500กิโลบิทต่อวินาที ซึ่งเร็วกว่าการใช้โมเด็มธรรมดา ISDN
- อุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ เป็นอุปกรณ์ใช้รวมส่งสัญญาณเพื่อให้เป็นสายข้อมูลเดียวกันและส่งผ่าน
ไปได้ บนสายส่งเส้นเดียว
- แผ่นวงจรต่อประสานเครือข่าย
เป็นแผ่นวงจร ต่อขยายที่เสียบในช่องเสียบของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น แผ่นวงจรนี้อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
Lan Adapter เนื่องจากใช้ในการรับข้อมูลคำสั่งและสารสนเทศต่างๆ
ความเอื้อประโยชน์ของเครือข่าย
- การใช้โปรแกรมและข้อมูลรวมกัน
ผู้ที่อยู่ในเครือข่ายสามารถใช้ซอฟแวร์ โปรแกรมและได้รับข้อมูล เดียวกันได้โดยสะดวกรวดเร็ว
- การใช้บริภัณฑ์ร่วมกัน
สถาบันและองค์กรในเครือข่าย จนสามารถประหยัดงบประมาณในการซื้อปริมาณรอบข้างต่างๆ
- สะดวกในการสื่อสาร ด้วยการใช้อีเมลช่วยในการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานเป็นไปได้ด้วยความสะดวกรวดเร็ว
ไม่เสียเวลาและค่าน้ำมันในการเดินทาง ไม่ต้องเสียค่าไปรษณียากร และช่วยประหยัดพลังงานและทรัพยากรโลก
- การเข้าถึงฐานข้อมูล สถาบันและหน่วยงานต่างๆจะมีฐานข้อมูลของแต่ละแหล่งเก็บบันทึกไว้เพื่อสามารถเรียกค้น
และใช้งานด้วยความรวดเร็ว






ประเภทตามช่องทางการส่งและรับสาร




สื่อการศึกษาที่แบ่งประเภทตามช่องทางการส่งและรับสาร
มี 3 ประเภท ได้แก่
1.          
สื่อโสตทัศน์
ได้แก่ สื่อกราฟฟิก วัสดุลายเส้น และ
แผ่นป้ายต่างๆ สื่อสามมิติประเภทหุ่นจำลอง และสื่อเสียง เช่น เทปเสียง เป็นต้น
2.          
สื่อมวลชน
ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง
และวิทยุโทรทัศน์
3.          
สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
ได้แก่ โทรศัพท์ โทรสาร วิทยุสื่อสาร โทรทัศน์
ปฏิสัมพันธ์ ระบบประชุมทางไกล เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ อินเตอร์เนต เป็นต้น
กลุ่มเครื่องมือ-อุปกรณ์(hardware)
ความหมายของฮาร์ดแวร์ตามพจนานุกรม
หมายถึง เครื่องมือ อุปกรณ์ที่เป็นโลหะและวัตถุเนื้อแข็ง อาวุธ ยุทโธปกรณ์
ตลอดทั้งชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องมือและอุปกรณ์เหล่านี้ ความหมายของฮาร์ดแวร์ในเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
หมายถึง เครื่องกลไกและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
จะเห็นได้ว่าฮาร์ดแวร์เป็นผลิตผลจากการประยุกต์ทางด้านวิทยาศาสตร์กายภาพทั้งหมด
ซึ่งประกอบด้วยวัสดุสิ้นเปลือง เครื่องมือและอุปกรณ์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้



1.          
วัสดุ หมายถึง
สิ่งที่ใช้งานร่วมกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาดำเนินกิจกรรมทางการศึกษา
ซึ่งมีทั้งวัสดุพื้นฐาน ( กระดาษ หมึก สี แผ่นใส เป็นต้น) และวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
( CD-Rom DVD ฟีล์ม เทปเสียง/ภาพ)
2.          
เครื่องมือ หมายถึง สิ่งของที่ใช้สร้างงานประกอบในกิจกรรมทางการศึกษา
ทั้งที่ใช้ร่วมกับวัสดุ หรืออุปกรณ์
ถ้าเป็นด้านเทคโนโลยีจะหมายถึง
ชุดเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์, Flash memory, ไมโครโฟน, ลำโพง, จอภาพสัมผัส (Touch screen) เป็นต้น
ถ้าเป็นเครื่องมือพื้นฐานจะหมายถึง ปากกา ดินสอ
มีด คัตเตอร์ เป็นต้น
3.          
อุปกรณ์
ได้แก่
เครื่องมือที่ใช้สนับสนุนการจัดกิจกรรมทางการศึกษา อาทิ
เครื่องคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ,
เครื่องพิมพ์, เครื่องscanner, กล้องถ่ายภาพยนตร์หรือวิดีโอ, กล้องถ่ายภาพ analog/digital,
เครื่องฉายภาพ video projector, visualizer, เครื่องบันทึกเสียงทั้งแบบ
analog/digital, เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง
เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพยนตร์....... เป็นต้น
(ซึ่งปัจจุบันอุปกรณ์ในหลายรายการ ของกลุ่มนี้ได้มาถึงจุดสุดท้าย
โดยได้มีพัฒนาการเปลี่ยนรูปแบบไป อาทิ เครื่องฉายสไลด์
ถูกแทนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ผนวกรวมกับเครื่องฉายภาพ video projector หรือ เครื่องฉายภาพทึบแสงถูกแทนที่ด้วย เทคโนโลยีของ visualizer เป็นต้น)




แต่ในความหมายหลักของคำว่า
hardware ส่วนใหญ่จะหมายถึง ประเภทของอุปกรณ์(3)

กลุ่มโปรแกรม
(software)
ซอฟต์แวร์เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในกลุ่มเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
จากการที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นประกอบจาก ชิ้นส่วน อุปกรณ์
และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
การที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามความต้องการนั้น
จะต้องมีคำสั่งหรือภาษาสำเร็จรูปของเครื่องกำหนด
ระบุหน้าที่จึงจะสั่งเครื่องคอมพิเตอร์ให้ทำงานหรือประมวลผลตามต้องการได้
วิธีการที่สร้างชุดคำสั่งหรือโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ
และผลผลิตที่ได้เป็นโปรแกรมต่างๆ นี้เรียกว่าซอฟต์แวร์ นอกจากนี้ นักการศึกษา
ยังได้ให้ความหมายของคำว่าซอฟต์แวร์ หมายถึง ลำดับขั้นตอน ระบบกระบวนการ
โปรแกรมและวิธีการเก็บรวบรวม จัดแจง และการเสนอสารสนเทศทางการศึกษา
ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น วัสดุสำเร็จรูป กิจกรรมและเกม และวิธีการ


ประเภทของสื่อการเรียนรู้ตามชนิดของสื่อ

สื่อการศึกษาที่แบ่งประเภทตามช่องทางการส่งและรับสาร
มี 4 ประเภท ได้แก่
1.          
สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึงสื่อการเรียนรู้ที่จัดทำขึ้นเพื่อสนองการเรียนรู้ตามหลักสูตร
หรือสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วไป ได้แก่ หนังสือ- แบบเรียน คู่มือครู ชุดวิชา
หนังสือประกอบการสอน หนังสืออ้างอิง หนังสืออ่านเพิ่มเติม แผนการสอน ใบงาน
แบบฝึกหัดกิจกรรม หนังสือพิมพ์ วารสาร แผ่นพับ โปสเตอร์ เป็นต้น
2.          
สื่อบุคคล หมายถึง บุคคลที่มีความรู้
ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ และทักษะต่างๆ ให้กับผู้เรียน เช่น ครู
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน(แพทย์ พยาบาล นักกฎหมาย) ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้
ความสามารถ ประสบการณ์เฉพาะเรื่องหรือผู้ที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ
เป็นต้น
3.          
สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม หมายถึงสื่อที่ผลิตหรือพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ควบคู่กับเครื่องมืออุปกรณ์ทางเทคโนโลยี
เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิทยุ แผ่นรายการเสียงหรือวิดีทัศน์รูปแบบ VCD/DVD แถบบันทึกเสียงหรือวิดีทัศน์
สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมหรือผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ e-learning และ อินเทอรืเน็ต
นอกจากนี้ยังรวมไปถึงโทรศัพท์ที่กำลังพัฒนาไปสู่การศึกษาผ่านโทรศัพท์ที่เรียกว่า M-learning
เป็นต้น
4.          
สื่อกิจกรรม หมายถึงสื่อประเภทวิธีการที่ใช้ในการฝึกทักษะ
ฝึกปฎิบัติ ซึ่งต้องใช้กระบวนการคิด การปฎิบัติ และการประยุกต์ความรู้ของผู้เรียน
เช่น สถานการณ์จำลอง บทบาทสมมุติ ทัศนศึกษา เกม การทำโครงงาน การจัดนิทรรศการ
การสาธิต เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น